ขั้นตอนการทำความสะอาดฟันปลอมแบบติดแน่น
เมษายน 5, 2017
ประเภทของการจัดฟัน
เมษายน 5, 2017

จะทราบได้อย่างไรว่าเราควรจัดฟัน

ทุกวันนี้เราเห็นวัยรุ่น และคนรุ่นใหม่ จัดฟันกันเสมือนเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่ง รูปแบบและสีสันของอุปกรณ์จัดฟันก็หลากหลาย แทนที่จะใส่เข้าไปแล้วไม่น่าดู ถูกล้อเลียนว่าเป็นฟันเหล็ก ก็กลายมาเป็นจัดกันเป็นแฟชั่น แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า เราเป็นอีกคนหนึ่ง ที่ควรจะต้องจัดฟัน และควรเลือกจัดด้วยวิธีไหน มาติดตามคำตอบกัน

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจ กับความหมายของการจัดฟันกันก่อน การจัดฟัน ก็คือการปรับ และแก้ไขฟัน และขากรรไกร ที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ปกติ ให้เข้าที่เข้าทางเป็นปกติ เพราะถ้าหากฟันและขากรรไกร อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ปกตินั้น ก็อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง นับตั้งแต่เรื่องการไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง ความไม่สวยงามขาดความมั่นใจ ไปจนกระทั่งผลกระทบรุนแรง ทั้งฟันผุ โรคเหงือก โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคี้ยว ส่งผลต่ออาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลังได้เลยทีเดียว ดังนั้น การจัดฟัน จึงช่วยให้สุขภาพในช่องปากดีขึ้น ปากและฟันทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีขึ้น และทำให้ผู้ที่จัดฟัน ก็ดูดี มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

รักษาสุขภาพในช่องปาก ประวัติการตรวจรักษา และอาจจะต้องมีการพิมพ์ฟัน และเอ็กซ์เรย์ฟันร่วมด้วย ก่อนที่จะให้คำแนะนำ และชี้แนะแนวทางในกรณีที่จะต้องมีการรักษาต่อไป

สำหรับอาหารเบื้องต้น ที่สามารถสังเกตุได้เองว่า เราควรจะพบทันตแพทย์ เพื่อคำปรึกษาเรื่องการจัดฟันนั้น มีดังนี้

  1. ฟันบนยื่นออกมา เรียกว่า Overbite เป็นลักษณะที่ฟันบนยื่นเลยออกมาจากฟันล่าง
  2. ฟันล่างยื่นออกมา เรียกว่า Underbite หลาย ๆ คนชอบเปรียบเทียบว่าเป็นฟันบลูด็อก นั่นคือฟันล่าง จะยื่นเลยฟันบนออกมา
  3. สบฟันคร่อม เรียกว่า Crossbite คือเมื่อกัดฟัน ฟันบนและฟันล่างจะไม่สบกันพอดี แต่จะคร่อม หรือไขว้กัน ฟันหน้าล่างคร่อมฟันหน้าบน
  4. ฟันไม่สบ เรียกว่า Open bite นั่นคือเมื่อกันฟัน ฟันหน้าด้านบน และด้านล่าง ไม่สบกัน มีช่องเปิด ทำให้ไม่สามารถกัดอาหารให้ขาดได้
  5. ฟันสบลึก เรียกว่า Deepbite คือฟันหน้าด้านล่างสบกับฟันบนลึกเกินไป คือสบบริเวณลึกเกือบจะถึงคอฟันของฟันบนด้านใน หรือบางกรณีสบลึกถึงเหงือก
  6. ฟันเบี้ยว เรียกว่า Misplaced midline เมื่อกัดฟันศูนย์กลางของฟันบน และฟันล่างจะไม่ตรงกัน
  7. ฟันห่าง เรียกว่า Spacing มีช่องว่างระหว่างซี่ฟัน ส่วนหนึ่งเป็นสาเหตุมากจากการสูญเสียฟัน เช่นฟันหลุด ฟันหัก ถอนฟัน
  8. ฟันซ้อนเก หรือ Crowding คือฟันที่ขึ้นมาแล้วไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นปกติ อาจจะขึ้นซ้อนกัน หรือเกยกัน

ลักษณะข้างต้นนี้ เป็นอาการที่บ่งบอกได้ว่า ควรพบทันตแพทย์ เพื่อปรึกษาเรื่องการจัดฟัน การจัดฟันในปัจจุบัน ก็มีหลายวิธี แต่ก็มีเป้าหมายอยู่ที่การแก้ไข และจัดระเบียบฟัน กล้ามเนื้อ และขากรรไกร ให้เข้าที่เข้าทาง

อายุที่เหมาะสำหรับการจัดฟันนั้น

อายุที่เหมาะสำหรับการจัดฟันนั้น โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มักจะเริ่มเมื่ออายุ 12-13 ปี หรืออาจจะช้ากว่านั้นสักปีหรือสองปี หากเพิ่งตรวจพบความผิดปกติ และก่อนจะจัดฟัน ควรมีการเตรียมความพร้อมให้กับสุขภาพในช่องปากด้วย หากสุขภาพในช่องปากดี รักษาความสะอาดได้ดี กระบวนการจัดฟันก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับวิธีการจัดฟันในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ คือ การจัดฟันแบบติดเครื่องมือถาวร และการจัดฟันแบบถอดออกได้

  1. แบบติดเครื่องมือถาวรนั้น จะมี 2 แบบคือ
    • แบบติดเครื่องมือถาวรที่เป็นโลหะติดอยู่ที่ฟัน มักเรียกกันง่ายว่า เหล็กจัดฟัน หรือ Braces นับเป็นเครื่องมือจัดฟันที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือมองเห็นชัดและทำความสะอาดยาก แบบติดเครื่องมือถาวรที่มีสีเหมือนฟัน กรณีที่ต้องการความสวยงามเพิ่มขึ้น เป็นเซรามิค หรือพลาสติก เรียกว่า Brackets เป็นสีเดียวกับฟัน ช่วยเรื่องความสวยงามได้ แต่มีราคาแพง แต่ถ้าไม่อยากให้เห็นเครื่องมือเลย ก็มีแบบติดด้านใน วิธีนี้ติดยาก และทำความสะอาดยาก
  1. เครื่องมือจัดฟันแบบถอดออกได้

ผู้จัดฟันสามารถถอดและใส่ได้ด้วยตัวเอง มีหลายชนิด ทั้งแบบรีเทนเนอร์พยุงฟัน ที่มีสปริงค์ติดอยู่ ซึ่งมักใช้กับผู้ที่ฟันไม่ผิดปกติมาก และแบบพลาสติกใสครอบฟันทั้งหมด ที่เรียกว่า Clear aligner สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้เห็นอุปกรณ์จัดฟันเลย เครื่องมือแบบถอดได้นี้ มีข้อจำกัดการใช้งานมาก ใช้ได้ไม่ทุกกรณี แต่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้

ทั้งนี้ วิธีการและเครื่องมือในการจัดฟันนั้น ยังมีอีกหลายแบบ เพื่อการรักษาความผิดปกติในลักษณะที่แตกต่างกันไป การจะเลือกจัดฟันด้วยวิธีการไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์จัดฟัน และที่สำคัญผู้ที่ต้องการจะจัดฟันนั้น ต้องเลือกคลินิค หรือสถานบริการที่ได้มาตรฐาน และทันตแพย์ผู้ที่จะรักษา ก็ต้องเป็นทันตแพทย์จัดฟันโดยเฉพาะเท่านั้น

Comments are closed.